-
วางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่กิจการมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินของกิจการ หากกิจการมีการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด จะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาที่มีผลทางกฎหมายตามมาด้วย
-
วางแผนภาษีเป็นการเตรียมการเพื่อเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตลอดจนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ อย่างคุ้มค่า เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการเสียภาษีไม่ถูกต้องได้
การวางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่กิจการต้องให้ความสำคัญ เพราะหากหลงลืม ละเลย หรือไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องมาตั้งแต่แรก อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง การจ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่มต่างๆ ซึ่งรวมกันแล้ว อาจจะมากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายเสียอีก ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ผู้ประกอบการจึงควรวางแผนภาษีเป็นอย่างดี
วางแผนภาษีคืออะไร?
การวางแผนภาษี คือ การวางแผนเพื่อดำเนินการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตลอดจนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ อย่างคุ้มค่า เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง สามารถชำระภาษีได้ตรงตามกำหนด และประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือค่าปรับทางกฎหมายต่างๆ
วางแผนภาษีมีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ
การวางแผนภาษีที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลดีต่อธุรกิจหลายประการด้วยกัน ดังนี้
- ช่วยให้การเสียภาษีของธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามกฎหมายภาษีอากร
- ช่วยให้กิจการประหยัดภาษีด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการลดหย่อนภาษีจากทางภาครัฐ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 หรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุหรือผู้พิการ เป็นต้น
- ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร หากกิจการมีการวางแผนภาษีที่ดี จะช่วยให้การเสียภาษีต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง ช่วยลดความเสี่ยงในการเรียกตรวจสอบภายหลัง และช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มที่อาจเกิดขึ้นได้
- การวางแผนภาษีช่วยทำให้ระบบเอกสารทางบัญชีและภาษีมีความเป็นมาตรฐาน เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
- ช่วยส่งเสริมระบบการควบคุมภายในของกิจการให้มีประสิทธิภาพ ในการวางแผนภาษีมีขั้นตอนสำคัญก็คือการศึกษาแนวปฏิบัติของธุรกิจ ทำให้เห็นปัญหาของระบบการทำงาน จุดเสี่ยง สิ่งที่ควรปรับปรุงไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในจุดนี้สามารถนำไปปรับปรุง พัฒนาให้ระบบการควบคุมภายในของกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
วางแผนภาษีกับขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในการวางแผนภาษีนั้นต้องมีการวางศึกษารายละเอียดต่างๆ อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของธุรกิจ หรือประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดสามารถนำมาสรุปเป็นขั้นตอน การวางแผนภาษีได้ดังนี้
1. การเตรียมการก่อนการวางแผนภาษีอากร
1.1 การศึกษาทำความเข้าใจธุรกิจ ได้แก่
เป็นการศึกษาทำความเข้าใจธุรกิจในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของธุรกิจ นโยบายทางการงเิน การ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของกิจการ งบการเงิน ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจธุรกิจก่อนที่จะมีการเริ่มต้นวางแผนภาษีได้เป็นอย่างดี
1.2 เตรียมความพร้อมเรื่องภาษีอากร
หลังจากที่ศึกษารายละเอียดอย่างชัดเจนแล้วว่ากิจการลักษณะธุรกิจเป็นอย่างไร และมีภาษีใดที่เรา ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ก็ต้องวางแผนที่จะเสียภาษีต่างๆ เหล่านั้นให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการจ่ายภาษี หรือสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้าน
1.3 ระบุปัญหาทางภาษีอากรของกิจการ
ปัญหาภาษีอากรของกิจการได้แก่
ก. ปัญหาความผิดพลาดในการคำนวณภาษีอากร การยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นแบบ หลักฐานเอกสารทางภาษีไม่ถูกต้องเพียงพอ เป็นต้น
ข. ปัญหาความแตกต่างของหลักเกณฑ์ที่กิจการใช้ในการบันทึกบัญชีกับหลักเกณฑ์ทางภาษี
1.4. การกำหนดบุคลากรในการวางแผนภาษีอากร
บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการวางแผนภาษีอากร ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาภาษีอากร หน่วยงานอื่นในองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายบุคคล เป็นต้น โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ควรประกอบด้วยผู้ที่เข้าใจประเด็นทางภาษีของกิจการและทราบถึงสาเหตุของปัญหาทางภาษี มีความรู้ความเข้าใจระบบภาษีขององค์กร ผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนภาษีได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและลดปัญหาภาระภาษีที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต
2. การกำหนดขั้นตอนการวางแผนภาษีอากร
หลังจากที่กิจการมีเตรียมการในการวางแผนภาษีอากรแล้ว กิจการจะต้องกำหนดขั้นตอนการวางแผนภาษีอากรดังต่อไปนี้
2.1 กำหนดประเด็นภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้แก่
ก. ประเด็นภาษีอากรทางด้านรายได้ รายได้ที่กิจการได้รับต้องเสียภาษีประเภทใด มีปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างไร
ข. ประเด็นภาษีอากรทางด้านรายจ่าย รายจ่ายของกิจการเกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใด มีปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างไร
ค.ประเด็นทางด้านสินทรัพย์และหนี้สิน สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการเกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใด มีปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างไร
2.2 วิเคราะห์สาเหตุและที่มาของปัญหาทางด้านภาษีอากร
ปัญหาทางด้านภาษีอากร ได้แก่
ก. นโยบายทางภาษีของกิจการไม่ถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
ข. เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องภาษีอากร
ค. ผู้ประกอบการขาดการควบคุมให้มีการเสียภาษีที่ถูกต้อง
ง. กิจการขาดการวางแผนภาษีอากรที่ดี
จ. เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบงานทางด้านภาษีขององค์กรไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอย่างเพียงพอ
ฉ. การจัดทำบัญชี เอกสารทางบัญชีและภาษี ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ช. ลักษณะของธุรกิจ สัญญาของธุรกิจ ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางภาษีอากร
2.3 กำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหา
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการวางแผนภาษีเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกิจการ เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วน และลดค่าใช้จ่ายทางภาษี
2.4 การกำหนดขั้นตอนการแก้ไขปัญหาภาษีอากร
ประกอบด้วย
ก. การจัดประชุมชี้แจงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเหตุผลในการวางแผนภาษี ปัญหาและสาเหตุของปัญหาภาษีอากร วัตถุประสงค์ของการวางแผน
ข. การจัดให้มีการระดมสมองเพื่อร่วมกันพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ทำการศึกษาหลักเกณฑ์และกฎหมายสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภาษีและร่วมกำหนดแนวทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม
2.5. การกำหนดแผนการปฏิบัติการ (Action Plan) ในการแก้ไขปัญหาภาษีอากร
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผนงานที่กำหนดการปฏิบัติงาน กำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน
3. การนำแผนภาษีอากรไปใช้ปฏิบัติจริง
ประกอบด้วย
3.1. ผู้ประกอบการกำหนดนโยบายบัญชีและภาษีที่เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานทางบัญชีและถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
3.2. ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารมอบหมายงานให้แก่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายบุคคล ฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น นำไปปฏิบัติงานตามแผน
3.3. ผู้เกี่ยวข้องที่รับมอบหมายงาน ทำความเข้าใจแนวปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย จากนั้นจึงจัดทำแผนการปฏิบัติงาน มีการทดลองปฏิบัติงานตามแผน มีการติดตามผล หลังจากมีการนำมาใช้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนทั้งระบบ และมีการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารทราบ
3.4. เจ้าของธุรกิจและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษากฎหมายสรรพากรหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. การติดตามประเมินผล
ประกอบด้วย
4.1. การประเมินผลโดยรวม
เป็นการพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน
4.2. การประเมินผลปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผน H4
เป็นการพิจารณาว่าบุคลากรมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน มีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและให้ความร่วมมืออย่างไร
4.3. การประเมินผลการปฏิบัติ
เป็นการพิจารณาว่าจำนวนเงินที่เสียภาษีอากรถูกต้อง ไม่มีค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับ เงินเพิ่มทางภาษี มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบการควบคุมภายในขององค์กรดีขึ้น
4.4. การประเมินความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามแผน
เป็นการประเมินผลทางด้านความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน
การวางแผนภาษีเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะช่วยกิจการลดต้นทุน ป้องกันภาระทางภาษีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และบริหารจัดการการเงินได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงไม่ควรละเลยที่จะวางแผนภาษีตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ
PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะเป็นพร้อมสนับสนุนธุรกิจให้จัดการบริหารจัดการบัญชีและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดการเอกสารสำคัญทางธุรกิจ เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ตลอดจนข้อมูลเอกสาร รายงานภาษี ทั้งรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ (สำหรับจัดทำ ภ.พ.30) รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย (สำหรับจัดทำ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://bit.ly/PEAK-Skootar (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
.
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine